ปัจจุบันความต้องการพลังงานและการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นปัจจัยสำาคัญที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน ประเทศไทย
ได้ให้ความสำาคัญกับเรื่องนี้โดยจัดทำาแผนพัฒนากำาลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2024)
และแผนปฏิบัติการพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2024)
เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีมาตรการเสริม เช่น
การซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง (Direct PPA), อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (UTG)
และการใช้ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (REC) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงาน
สะอาด และเปิดโอกาสให้บุคคลที่สามสามารถใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ หลักสูตรนี้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาพลังงาน
ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจถึง
แผนการผลิตไฟฟ้า การทำาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง ข้อกำาหนดการใช้
ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำาหรับบุคคลที่สาม และแนวทางการใช้พลังงานสีเขียว
หลักสูตรการสัมมนาครั้งนี้ยังรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับแผน
ปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทน (AEDP 2024) และอนุรักษ์พลังงาน (EEP 2024)
ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของ
ประเทศ เพื่อให้เกิดการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาด การลดการ
ปล่อย CO2 รวมถึงบทบาทของ Smart Grid ในการสนับสนุนเป้าหมาย
Carbon Neutrality และการเตรียมพร้อมต่อมาตรการ CBAM (Carbon
Border Adjustment Mechanism) ที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย
ในอนาคต
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึง
ความสำาคัญ จึงจัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “แผนพัฒนากำาลังผลิต
ไฟฟ้าและพลังงานสีเขียวเพื่อความยั่งยืนและการใช้บริการระบบโครงข่าย
ไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม” เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางพัฒนาพลังงาน
และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและสากล เพื่อสนับสนุนการพัฒนา
ที่ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศต่างๆ โดยการสนับสนุนวิชาการจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หน่วยงาน
ภาครัฐ และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์
1. พื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจถึงแนวทางและเป้าหมายของแผนพัฒนา
กำาลังผลิตไฟฟ้า (PDP 2024) ของประเทศไทย รวมถึงแผนปฏิบัติการ
ด้านพลังงานทดแทน (AEDP 2024) และการอนุรักษ์พลังงาน
(EEP 2024) เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
2. เพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการทำาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง
(Direct PPA) และการใช้อัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (UTG) ตลอดจน
การใช้ใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (REC) ในการรับรองพลังงานสะอาด
ที่ใช้ในองค์กร
3. พื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจถึงข้อกำาหนดและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการ
เชื่อมต่อและใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำาหรับบุคคลที่สาม
(Third Party Access: TPA) ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและ
เชื่อมโยงการใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเป็นธรรม
4. พื่อสร้างความตระหนักถึงบทบาทของเทคโนโลยี Smart Grid ในการ
สนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบรรลุ
เป้าหมาย Carbon Neutrality รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำาหรับ
ผลกระทบของมาตรการ CBAM ที่อาจมีผลต่อการส่งออกของไทย
ในอนาคต
กลุ่มเป้าหมาย
1. บริหาร วิศวกร และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกิจการไฟฟ้าและ
พลังงาน
2. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่กำาหนดนโยบายกิจการไฟฟ้าและ
พลังงาน
3. ผู้ผลิตและผู้ให้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด และ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
4. ที่ปรึกษา ผู้ประกอบการ อาจารย์ และนักลงทุน ในกิจการไฟฟ้า
และพลังงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป