ประเทศไทยกำาลังก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำาคัญของโลก โดย
คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตาม
นโยบาย 30@30 คือ การตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษ
เป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 ถือเป็น
อีกหนึ่งกลไกที่จะนำาพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำา (Low-carbon Society) โดยมี
เป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ รถจักรยานยนต์ รถบัสและ
รถบรรทุก นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมการผลิตรถสามล้อ เรือโดยสาร และรถไฟระบบรางอีกด้วย
และมีเป้าหมายการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ รถจักรยานยนต์
รถบัสและรถบรรทุก รวมถึงการกำาหนดเป้าหมายการส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะ
แบบ Fast Charge และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำาหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และมีมาตรการ
ส่งเสริม ZEV ในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน เพื่อให้
ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน โดยได้มีการกำาหนดมาตรฐานให้ครอบคลุมยานยนต์
และชิ้นส่วนสำาคัญ แผนส่งเสริมผู้ประกอบการรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า และแผนการ
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรและกำาลังคน การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งมาตรการทาง
ภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี โดยมีมาตรการ Quick win เป็นการส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าของ
ธุรกิจขนส่งเชิงพาณิชย์และหน่วยงานรัฐ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการ
ส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า การพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอัดประจุ และการ
ส่งเสริมเทคโนโลยีสมาร์ทกริด รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์
ไฟฟ้าและการใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศ การจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วและการพัฒนากำาลังคน
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society
(Thailand) ร่วมกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand - EVAT)
ได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญจึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงวิชาการเรื่อง “ยานยนต์ไฟฟ้า: เทคโนโลยี การ
ออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานความปลอดภัย ข้อกำาหนดการเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้า การบำารุง
รักษา และการประยุกต์ใช้งาน” ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาคขนส่งและอุตสาหกรรม
ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ลดการนำาเข้าน้ำามันดิบจากต่างประเทศ และลดผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนวิชาการจาก กกพ. สนพ. ธพ. กฟผ. กฟภ. กฟน. สมาคม
ยานยนต์ไฟฟ้าไทย สำานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บริษัทผู้ประกอบการ ผู้ผลิต
และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของเทคโนโลยี
ยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ ระบบการอัดประจุ
ไฟฟ้า การออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน
และการประยุกต์ใช้งานแก่ผู้สนใจลงทุน
ผู้ให้บริการออกแบบ ทดสอบและติดตั้ง
ใช้งาน ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่
ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
2. เปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคน และรับทราบ
แนวทางในการดำาเนินการและเตรียมความ
พร้อมในการเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ยานยนต์ไฟฟ้า
กลุ่มเป้าหมาย
1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า
2. ผู้ให้บริการออกแบบ ทดสอบและติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานของสถานีชาร์จไฟฟ้า
3. ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าและระบบโครงสร้างพื้นฐาน
4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ