ระบบเคเบิลใต้ดิน (Underground Cable System) ถูกนําาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้า
ปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่จ่ายไฟฟ้าและลดอุบัติเหตุภัยจากไฟฟ้าต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
แนวสายไฟฟ้าและให้สวยงามเป็นระเบียบ ระบบเคเบิลใต้ดิน จึงถูกนําามาติดตั้ง เพื่อจ่ายไฟฟ้าสําาหรับ
พื้นที่ศูนย์กลางเมืองและธุรกิจขนาดใหญ่ พื้นที่อุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยีระดับสูง พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ
การท่องเที่ยว พื้นที่ที่มีความสวยงามหรือมีความสําาคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นพื้นที่พัฒนาเพื่อเป็นที่อยู่
อาศัยแห่งใหม่ เพื่อสนองตอบความต้องการข้างต้น แม้จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ระบบเคเบิลใต้ดิน สามารถ
ให้ความเชื่อถือได้ในการจ่ายไฟฟ้า ได้ดีกว่าระบบสายไฟฟ้าบนอากาศ (Overhead Lines System) เนื่องจาก
มีฉนวนที่แข็งแรง ทั้งถูกฝังไว้ใต้ดินอย่างมิดชิด มีการป้องกันอย่างหนาแน่น ไม่ได้รับผลผลกระทบจะสภาพแวดล้อม
ภายนอก เช่น สภาพภูมิอากาศ อุบัติเหตุรถชน เสาไฟฟ้า การสัมผัสจากต้นไม้ สัตว์ หรือคน เป็นต้น แต่หาก
วิเคราะห์ลึกลงไปในแง่ของจําานวนครั้งเฉลี่ยไฟฟ้าดับ (SAIFI) หรือระยะเวลาเฉลี่ยไฟฟ้าดับ (SAIDI) แล้วจะพบ
ว่าระบบเคเบิลใต้ดิน จะมีค่า SAIFI น้อยกว่าแต่กลับมี SAIDI มากกว่า เนื่องจากถ้าเกิดเหตุชําารุดกับสายเคเบิล
ใต้ดินแล้ว จะต้องใช้เวลาในการซ่อมแซมแก้ไขนานกว่าระบบสายไฟฟ้าแบบอากาศมาก อีกทั้งสายไฟใต้ดิน
จะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าสายไฟฟ้าอากาศ ดังนั้นเพื่อรับประกันผลการใช้งานระบบสายเคเบิลใต้ดินให้ได้
อย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องอาศัยการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง
ติดตั้ง บําารุงรักษา ใช้งาน และทดสอบอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการนําาระบบเคเบิลใต้ดินมาใช้มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลได้อนุมัติ
เงินลงทุน เพื่อให้การไฟฟ้านครหลวงนําาสายไฟฟ้าลงใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อรองรับ
การเป็นมหานครแห่งอาเซียน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นําาสายไฟฟ้าลงใต้ดินสําาหรับหัวเมืองใหญ่ต่างๆ ในพื้นที่
ต่างจังหวัด ประกอบด้วยพื้นที่ดําาเนินการทั้งหมด 16 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ 12 เขต ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ อุดรธานี มุกดาหาร นครราชสีมา ขอนแก่น นครพนม พระนครศรีอยุธยา
ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม เพชรบุรี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น ขณะเดียวกันผู้ผลิตไฟฟ้า
เอกชนหลายรายก็มีการเชื่อมต่อระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจากโรงไฟฟ้าของตนเองไปยังลูกค้าที่รับไฟตรงในเขตนิคม
อุตสาหกรรม เพื่อรับประกันความเชื่อถือได้ในการจ่ายไฟฟ้า ส่วนโรงไฟฟ้าประเภทพลังงานหมุนเวียน เช่น Solar
Farm หรือ Wind Farm รวมทั้งหมู่บ้านจัดสรรที่ต้องการทัศนียภาพที่สวยงาม ก็มีการติดตั้งระบบสายเคเบิลใต้ดิน
เป็นจําานวนมากเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันประเทศไทยกําลังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ทักษะที่เหมาะสม ต่อการบริหาร
สินทรัพย์ระบบสายเคเบิลใต้ดิน ทั้งด้านการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้งใช้งานและบํารุงรักษาและทดสอบ
ขาดเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสําหรับการทํางาน ดังนั้นจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทําการพัฒนา
ให้ได้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมในจํานวนที่เพียงพอต่อภารกิจดังกล่าวข้างต้น
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand)
ได้เล็งเห็นถึงความสําาคัญจึงได้จัดให้มีการสัมนาเชิงวิชาการเรื่อง ระบบไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน สําหรับ
โครงการพัฒนาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่: โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ ปฎิบัติการ
และบํารุงรักษา โดยการสนับสนุนวิชาการจาก กฟผ. กฟภ. กฟน. บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ ผู้ออกแบบ
ผู้รับเหมา และผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงาน
ภาคปฏิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานของระบบ
ไฟฟ้าและสื่อสารเคเบิลใต้ดิน เทคโนโลยี
โครงสร้างพื้นฐาน แก่ผู้ให้บริการออกแบบ
ติดตั้ง ทดสอบ ปฎิบัติการ และบําารุงรักษา
ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
เกี่ยวข้อง
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการ
บริหารสินทรัพย์ของระบบเคเบิลใต้ดิน ให้
สามารถทําางานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคนกับ
ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง และทราบถึงความ
คืบหน้าและรายละเอียดของโครงการต่างๆ
ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าและ
สื่อสารเคเบิลใต้ดิน
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมงาน ผู้ประสานงาน
โครงการ ผู้รับเหมา วิศวกร ช่างเทคนิค และ
เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและ
สื่อสารเคเบิลใต้ดิน
2. คลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่
ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
*** สมาคมฯ ให้ความสําาคัญกับมาตรการ
ของภาครัฐ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรค
ติดเชื้อ COVID-19 แก่ผู้เข้าสัมมนาและวิทยากรทุกท่าน
ทางสมาคมฯ ได้จัดสัมมนาให้เป็นไปตามมาตรการ
ป้องกันโรคและคําาแนะนําาของทางราชการ