Chapter I : เรื่อง “ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย: แรงดันเกิน การฉนวนไฟฟ้าแรงสูง
การควบคุม และกรณีศึกษา”
หลักการและเหตุผล
ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า (Electrical Transients) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าทางไฟฟ้า แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าอย่างกะทันหัน
และรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์อย่างทันทีทันใดในวงจร เช่น การเปิดหรือปิดสวิตช์ หรือเกิดผิดพร่อง
ขึ้นในระบบ ช่วงเวลาการเกิดทรานเซี้ยนต์จะมีช่วงสั้นมาก ซึ่งช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่นนั้น ในสถานะคงตัว (steady state) หรือ
ทำางานปกติจะไม่มีความหมายหรือความสำาคัญเลย แต่ในช่วงเวลาของการเกิดทรานเซี้ยนต์จะมีความสำาคัญยิ่งยวด เพราะใน
ช่วงเวลาสั้นๆ ดังกล่าวนั้น องค์ประกอบต่างๆ ของวงจรจะได้รับความเครียด (Stress) ทั้งทางไฟฟ้าและทางกลสูงมาก อันเป็นผล
จากแรงดันหรือกระแสที่มีค่าสูงมากเกินปกติ เรียกว่า แรงดันเกิน (Overvoltage) หรือกระแสเกิน (Overcurrent) ในกรณีที่
เกิดแรงดันเกินหรือกระแสเกินมากไปย่อมทำาให้เกิดความเสียหายแก่ระบบไฟฟ้าได้มากมายดังกล่าวข้างต้น จึงต้องทำาความ
เข้าใจให้ชัดแจ้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการเกิดทรานเซี้ยนต์ เมื่อก่อนเรื่องทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่อง
คลุมเครือสำาหรับวิศวกร หรือวิศวกรจะมีความคิดที่ไม่ชัดเจนว่าอะไรเกิดขึ้นในวงจร เป็นสิ่งลึกลับสุดวิสัย แต่ปัจจุบันเราสามารถ
ทำาความเข้าใจถึงพฤติกรรมของทรานเซี้ยนต์ได้ คำานวณได้ และในบางกรณียังสามารถป้องกันได้ หรืออย่างน้อยสามารถควบคุม
ได้ ไม่ทำาให้เกิดอันตรายต่อวงจรและระบบส่งจ่าย
ในระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุที่นำาไปสู่การเกิดความผิดพร่อง (Fault)
ขึ้นในระบบได้ และเกิดการหยุดชะงักของการส่งจ่ายกำาลังไฟฟ้า หรือไฟฟ้าดับ จะทำาให้เกิดความเสียหาย ทำาให้ระบบส่งจ่าย
ขาดเสถียรภาพ ความเชื่อถือได้ลดลง ดังนั้นวิศวกรหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำางานของระบบส่งจ่ายต้องมีความรู้ ความ
เข้าใจในเรื่องทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า
Chapter II: เรื่อง “การป้องกันระบบไฟฟ้า: ทฤษฎี และกรณีศึกษา”
หลักการและเหตุผล
งานการป้องกันระบบไฟฟ้า นับเป็นหัวใจสำาคัญของการจ่ายไฟฟ้า เป็นตัวกำาหนดความปลอดภัย ความมั่นคงและความ
เชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำาคัญอย่างยิ่งที่สนับสนุนกิจการในทุกๆ ด้านความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
ความสูญเสียและความเสียหายอันเนื่องมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำารุดเสียหาย หรืออุปกรณ์ป้องกันทำางานผิดพลาด ล้วนเป็นอุปสรรค
ต่อการจ่ายไฟฟ้า และทำาให้เกิดการสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาลต่อผู้ประกอบการและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
การไฟฟ้าหรือผู้ผลิตแต่ละรายมีปรัชญาการป้องกันระบบไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคของตนเองที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม
ล้วนมีวัตถุประสงค์ให้การป้องกันระบบไฟฟ้ามีการประสานการทำางานเหมือนกัน นั่นคือการจำากัดบริเวณและเวลาของฟอลต์
ในการสร้างความปลอดภัย มั่นคงของการจ่ายไฟ ในปัจจุบันการควบคุมป้องกันและการสั่งการของระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ที่มีการ
ใช้พลังงานหมุนเวียนสูงจะต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อของระบบไฟฟ้า ข้อจำากัดในการช่วย
จ่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ความแปรปรวนของพลังงานหมุนเวียนและความหลากหลายในลักษณะของระบบใหม่
จึงจำาเป็นจะต้องมีแนวทางใหม่ๆ ในการป้องกันระบบไฟฟ้าเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญ จึงได้จัดให้มีงานสัมมนาเชิงวิชาการ
เรื่อง “ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย: แรงดันเกิน การฉนวนไฟฟ้าแรงสูง การควบคุม และกรณีศึกษา” และงานสัมมนา
เชิงวิชาการเรื่อง “การป้องกันระบบไฟฟ้า: ทฤษฎี และกรณีศึกษา” โดยการสนับสนุนวิชาการจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์
ในงานภาคปฏิิบัติโดยตรง
วัตถุประสงค์
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่
วิศวกรไฟฟ้า และช่างไฟฟ้า เกี่ยวกับ
ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า และการ
ป้องกันระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย
2. สร้างความรู้ด้านการวิเคราะห์
ปัญหาทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า และการ
ป้องกันระบบไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย
และตัวอย่างกรณีศึกษา
3. สร้างความรู้ด้านการป้องกันและ
ควบคุมปัญหาทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า
และการป้องกันระบบไฟฟ้าใน
ระบบส่งจ่าย และตัวอย่างกรณี
ศึกษา
4. เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมอบรม
แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ
ปัญหาแรงดันเกิน และการฉนวน
ไฟฟ้าแรงสูง และการป้องกัน
ระบบไฟฟ้า
5. รับทราบแนวทางเทคนิค การ
ป้องกัน การควบคุม แรงดันเกิน
และการป้องกันระบบไฟฟ้า และ
ปัญหาต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ
โดยตรง
กลุ่มเป้าหมาย
1. วิศวกรและผู้ปฏิิบัติงานของ
หน่วยงานการไฟฟ้าฯ ผู้ผลิตไฟฟ้า
เอกชน ทำางานเกี่ยวกับระบบ
ส่งจ่ายไฟฟ้า
2. วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมที่
ปฏิบัติงาน ทำางานเกี่ยวกับระบบ
ส่งจ่ายไฟฟ้า
3. ที่ปรึกษา ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา
ที่ปฏิบัติงาน ทำางานเกี่ยวกับระบบ
ส่งจ่ายไฟฟ้า
4. อาจารย์มหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษา
และบุคคลทั่วไปที่สนใจ