พลังงานจัดเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สําาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดย
นโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาพลังงานทดแทน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่สามารถนําามาใช้
ประโยชน์ได้อย่างไม่มีวันหมด ดังนั้น เพื่อให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
บนหลังคา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้ง และ
ผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบ ก่อสร้าง ทดสอบ ปฏิบัติงาน
และบําารุงรักษา ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า และข้อกําาหนดของการ
ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง โดยปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) และ IEEE Thailand
Section ร่วมกับวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
นเรศวร ได้เล็งเห็นถึงความสําาคัญจึงได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง “ระบบ
ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop): นโยบาย ข้อกําาหนด
การใช้งานโปรแกรมออกแบบ ติดตั้ง ควบคุมและบําารุงรักษา” ซึ่งจะเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อนําาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างยั่งยืน โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ., กฟภ., กฟน., ผู้ออกแบบและผู้ผลิต
บริษัท ผู้ประกอบการ และ สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์
ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง การอบรมนี้จะเน้นการนําาไปใช้งานได้จริงตั้งแต่การใช้งาน
โปรแกรมออกแบบ PVSys สําาหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
โปรแกรม HomerPro สําาหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับระบบ
กักเก็บพลังงาน การติดตั้ง การหาผู้รับเหมาติดตั้ง การเลือกใช้งานอินเวอร์เตอร์
การขอขึ้นทะเบียนอินเวอร์เตอร์ รวมถึง กรณีศึกษาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงาน
แสงอาทิตย์
สมาคมฯ ให้ความสําาคัญกับมาตรการของภาครัฐ เพื่อลด
ความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 แก่ผู้เข้าสัมมนา
และวิทยากรทุกท่าน ทางสมาคมฯ ได้จัดสัมมนาให้เป็นไปตามมาตรการ
ป้องกันโรคและคําาแนะนําาของทางราชการ
วัตถุประสงค์
1. สร้างความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์บนหลังคา แก่ผู้สนใจลงทุน ผู้ให้บริการออกแบบ
และติดตั้ง ตลอดจนวิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประเมิน ทดสอบ บําารุงรักษา
ปัญหาอุปสรรค และเทคนิคการแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษา
ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
3. เปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้า
สัมมนาทุกคนและรับทราบแนวทางในการดําาเนินการผลิต
ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา
กลุ่มเป้าหมาย
1. วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
2. ผู้ให้บริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์
3. ผู้สนใจลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
4. บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้อง
และบุคคลทั่วไปที่สนใจ