ทําาไมพลังงานทดแทน ที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เราเรียกว่า พลังงานหมุนเวียน...กลายเป็น
สิ่งที่ไม่สามารถหยุดได้ ในอนาคตโลกเรามีแนวโน้มและดูเหมือนว่ากว่า 50% ของพลังงานไฟฟ้าจะมาจากพลังงาน
หมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ําา และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งจากการคาดการณ์จะเกิดขึ้นในช่วง
ปี ค.ศ. 2035-2050 โดยมี 3 ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเหตุผลดังกล่าว 1) โลกเราใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นคนรุ่นใหม่ในหลายๆ ประเทศ ได้ออกมาประท้วงให้รัฐบาลออกนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
มากขึ้น 2) พลังงานหมุนเวียนกลายเป็นสิ่งที่เริ่มจับต้องได้ เพราะทุกคนในทุกพื้นที่ได้ให้ความสนใจที่จะหาแหล่ง
พลังงานและจัดเตรียมพื้นที่สําาหรับการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากกว่าพลังงานที่ได้จากฟอสซิล 3) ปัจจุบัน
มีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่รองรับและส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น ถ้าเราต้องการสร้างโรงไฟฟ้า
พลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากชายฝั่ง เราสามารถส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี HVDC (High
Voltage Direct Current) โดยไม่จําาเป็นต้องกังวลเรื่องข้อจําากัดของกําาลังไฟฟ้าสูงสุดที่จ่ายได้หรือความยาวของ
สายส่ง และมีประสิทธิภาพในการส่งสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งแบบกระแสสลับ นอกจากนั้นเรายังมีเทคโนโลยี
ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพไฟฟ้าในระบบ เช่น STATCOM (Static Synchronous Compensator) ซึ่งใช้
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กําาลัง IGBT (Insulated Gate Bipolar Transistor) เพื่อควบคุมการไหลของกําาลังไฟฟ้า
และปรับปรุงเสถียรภาพของระบบในสภาวะชั่วครู่ (Transient Stability) เพื่อเพิ่มความมั่นคงหรือความสามารถ
ของระบบที่จะสามารถทําางานต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หลังจากที่เกิดเหตุขัดข้องที่รุนแรงขึ้นกับระบบ และ
เทคโนโลยีซิงโครนัสคอนเดนเซอร์ (Synchronous Condensers) ซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนการทําางานที่มี
ประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ให้กับกริดหรือสายส่ง โดยการปรับสมดุล ลดความผันผวนของแรงดันไฟฟ้า และเพิ่ม
กําาลังไฟฟ้าลัดวงจรให้สูงขึ้น และเรายังมีเทคโนโลยีระบบสะสมพลังงาน(EnergyStorage) จะช่วยลดความผันผวน
ของพลังงานหมุนเวียน ทําาให้เราจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้อย่างมีเสถียรภาพ หรือที่เราเรียกกันว่า
Smoothing เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ําา และจ่ายไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง
(Energy Shifting) ช่วยควบคุมและรักษาความถี่ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ (Frequency Regulation) นอกจากนั้น
ยังช่วยจัดการความหนาแน่นของระบบส่ง (Congestion Management) ทําาให้เราสามารถนําาพลังงานไฟฟ้า
จากพลังงานทดแทนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ชัดเจนว่าจาก 3 ปัจจัยหลัก การเปลี่ยนแปลงในด้าน
พลังงานไฟฟ้าจะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคต
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ร่วมกับ IEEE Thailand Section ได้เล็งเห็นถึงความ
สําาคัญ จึงได้จัดให้มีการสัมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน:
นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฏิบัติและการควบคุม” โดยการสนับสนุนวิชาการจาก
พพ. กฟผ. กฟภ. กฟน. ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง และเป็นผู้มีความรู้ และประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการ
ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนมาเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด
การพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบผลิต
ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บ
พลังงาน
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีแก้ไขปัญหา
คุณภาพไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในระบบ จากการใช้พลังงาน
ทดแทน ทําาให้เราสามารถนําาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงาน
หมุนเวียนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมมนาทุกคนกับผู้เชี่ยวชาญ
โดยตรง
4. เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าสัมนากับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่กําาหนดนโยบาย
วิศวกรและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกิจการไฟฟ้าและ
พลังงาน
2. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน นักลงทุนด้านไฟฟ้าและ
พลังงาน และผู้ให้บริการเทคโนโลยี Distributed Energy
Resources (DERs), Microgrid, Energy Storage และ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ที่ปรึกษา ผู้รับเหมา
อาจารย์ มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา และผู้ที่
สนใจทั่วไป
*** สมาคมฯ ให้ความสําาคัญกับมาตรการของภาครัฐ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 แก่ผู้เข้าสัมมนาและวิทยากรทุกท่าน ทางสมาคมฯ
ได้จัดสัมมนาให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคําาแนะนําาของทางราชการ