ทำาไมพลังงานทดแทน ที่สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เราเรียกว่า
พลังงานหมุนเวียน... กลายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดได้ ในอนาคตโลกเรามีแนวโน้มและ
ดูเหมือนว่ากว่า 50% ของพลังงานไฟฟ้าจะมาจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์
ลม ชีวมวล น้ำา และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งจากการคาดการณ์จะเกิดขึ้นในช่วง
ปี 2035-2050 โดยมีปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนที่สำาคัญ คือความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
และความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่มีเป้าหมายสำาคัญตามการประชุม COP 26 และ 27 คือ
ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ใน ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593)
และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใน ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608)
เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศและความตกลงปารีส ซึ่งกำาหนดเป้าหมายให้ประชาคมโลกต้องร่วมกัน
กำาจัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5-2 องศาเซลเซียส
ให้ได้ภายใน ค.ศ. 2100 (พ.ศ. 2643) นอกจากนี้แล้ว พลังงานหมุนเวียนกลายเป็น
สิ่งที่เริ่มจับต้องได้ เพราะทุกคนในทุกพื้นที่ได้ให้ความสนใจที่จะหาแหล่งพลังงานและ
จัดเตรียมพื้นที่สำาหรับการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากกว่าพลังงานที่ได้จากฟอสซิล
และปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่างๆ มากมายที่รองรับและส่งเสริมการผลิตพลังงานหมุนเวียน
การนำาพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต้องการ
เทคโนโลยีระบบสะสมพลังงาน (Energy Storage) ที่มีหลากหลายรูปแบบและมีส่วน
ช่วยลดความผันผวนและความไม่แน่นอนของพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทำาให้เราจ่ายไฟฟ้า
จากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีเสถียรภาพ ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ระบบ
ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากผลกระทบอย่างมีนัยจากภาคการขนส่งด้วยไฟฟ้า
(ยานยนต์ไฟฟ้า) ภาคครัวเรือน (บ้านและอาคารอัจฉริยะ) และภาคการส่งเสริม
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (แสงอาทิตย์และลม) เทคโนโลยีระบบสะสม
พลังงานจึงจำาเป็นในการนำามาประกอบเพื่อสร้างศักยภาพของการผลิตและการใช้
พลังงานไฟฟ้า ประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าทั้งระบบ
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) ได้เล็งเห็นถึงความสำาคัญ
จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการพลังงานทดแทนร่วมกับระบบ
กักเก็บพลังงาน: นโยบาย การวางแผน ออกแบบ วิธีการแก้ปัญหา การปฏิบัติ
และการควบคุม (Integration of Renewable Energy Sources with Energy
Storage System: Policy, Planning, Design, Solutions, Operation and Control)”
โดยการสนับสนุนวิชาการจาก พพ. กฟผ. กฟภ. กฟน. ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา
และผู้ผลิต บริษัทผู้ประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็น
ผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง และเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์
ในการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทนมาเป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ
แนวคิดการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบผลิตไฟฟ้า
จากแหล่งพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานและวิธีแก้ไข
ปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในระบบ และเพื่อสามารถใช้เป็น
แนวทางสำาหรับศึกษา วางแผน ออกแบบ และลงทุนพัฒนาโครงการ
ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดการพัฒนา
และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบผลิตไฟฟ้าจากแหล่ง
พลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน
2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ วิธีแก้ไขปัญหาคุณภาพไฟฟ้า
ที่จะเกิดขึ้นในระบบ จากการใช้พลังงานทดแทน ทำาให้เรา
สามารถนำาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง
ผู้เข้าสัมมนาทุกคนกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
กลุ่มเป้าหมาย
1. ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่กำาหนดนโยบาย วิศวกรและ
เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกิจการไฟฟ้าและพลังงาน
2. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน นักลงทุน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน และ
ผู้ให้บริการเทคโนโลยี Distributed Energy Resources
(DERs), Microgrid, Energy Storage และเทคโนโลยี
ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งที่ปรึกษา ผู้รับเหมา อาจารย์
มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป